พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday June 7, 2023 13:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 68/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 10 มิ.ย. ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 - 13 มิ.ย. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรงโดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 11 มิ.ย.นี้

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้าและผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 7 - 10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 9 - 10 มิ.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ความชื้นสะสมในแปลงปลูกมีมาก เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ดังนั้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคดังกล่าว ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วและที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกแสงแดดส่องได้ทั่วถึง ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บกักน้ำ   ควรทำความสะอาดและดูแลให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้จัดเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน ป้องกันน้ำสำรองมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการใช้น้ำทางด้านการเกษตร ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค เฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณด้านตะวันออก ของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 4 -7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบางพื้นที่อาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้    ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปและควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสม ในแปลงปลูกป้องกันและลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ     เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่นโคและกระบือ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรทำความสะอาดและดูแลแหล่งเก็บกักน้ำให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้จัดเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน    ได้เต็มที่ มีน้ำสำรองที่เพียงพอต่อการใช้น้ำทางด้านการเกษตร กลาง ในช่วงวันที่ 7 - 11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 มิ.ย.    มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้
          ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมรวมทั้งซ่อมแซมแผงกำบังฝนสาดให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้  ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงสู่บ่อเลี้ยงโดยตรงแต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรทำความสะอาดและดูแลแหล่งเก็บกักน้ำ          ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้จัดเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนได้เต็มที่ มีน้ำสำรองที่เพียงพอต่อการใช้น้ำทางด้านการเกษตร ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 7 - 11 มิ.ย. ในช่วงวันที่ 7 - 11 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %ความยาวนานแสงแดด 3 -6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้  ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงสู่บ่อเลี้ยงโดยตรงแต่ควรเก็บไว้ในบ่อพัก ก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ส่วนไม้ผล     ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัว  ได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน เตรียมตัวออกดอกในฤดูต่อไป อนึ่ง ระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนเกษตรกรควรทำความสะอาดและดูแลแหล่งเก็บกักน้ำให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้จัดเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนได้เต็มที่ มีน้ำสำรองที่เพียงพอต่อการใช้น้ำทางด้านการเกษตร ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 7 - 10 มิ.ย. ในช่วงวันที่ 7 - 11 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเล       มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30    กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 7 - 10 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออกกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก    บางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงในยางพารา โรครากน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตก        ไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองเรือเล็กบริเวณทะเล        อันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 11 มิ.ย.นี้ ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน 2566 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ ลำปาง น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร เลย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ปราจีนบุรี จันทบุรี ยะลา ภูเก็ต พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ