พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday June 9, 2023 15:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 69/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 10-15 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณ/ ประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงทำให้ด้านรับมรสุมในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง คลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มิ.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 11 มิ.ย.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10-15 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - เนื่องจากในระยะที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกันทำให้สภาพอากาศยังมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด โรคราสีชมพูในลำไย โรคราสนิมในกล้วยไม้ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรสำรวจดูแลโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม แผงกำบังฝนสามารถใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-15 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณด้านเฉียงเหนือ ตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงที่ผ่านมาบางพื้นที่มีฝนตกติดต่อ ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในพริก โรคใบไหม้ในข้าว เป็นต้น รวมทั้งควรดูแลสัตว์เลี้ยงอย่าให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ กลาง ในช่วงวันที่ 10-15 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และผักต่างๆ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อเลี้ยงให้เข้ากัน ป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำและลดปัญหาการตายของสัตว์น้ำ

ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. 66 ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มิ.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อเลี้ยงให้เข้ากัน ป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำและลดปัญหาการตายของสัตว์น้ำ สำหรับทุเรียนเมื่อเก็บผลหมดแล้ว เกษตรกรควรทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ทุเรียนแตกกิ่งใหม่และยังช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 9-10 มิ.ย. 66 ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. 66 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มิ.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. 66 ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มิ.ย. 66 ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - มีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราดำในเงาะ โรคเส้นดำในในยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-11 มิ.ย. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 3 มิ.ย. กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมาในวันที่ 4 มิ.ย. โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคุลมบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมาในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยา ในวันที่ 2 มิ.ย. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 2-3 มิ.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 3 มิ.ย. และจังหวัดแพร่ ในวันที่ 5 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักหลายแห่งตลอดช่วงและฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4-5 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 2 มิ.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 2 และ 6 มิ.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 4 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 7 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 2 มิ.ย. และจังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 6 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 3, 5, 6 และ 7 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 2 และ 4 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 20-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 3 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 7 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่วันที่ 4 และ 8 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4, 7 และ 8 มิ.ย.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ อุดรธานี และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน สุโขทัย หนองคาย เลย นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด สงขลา ยะลา ภูเก็ต และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ