พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday June 12, 2023 15:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 70/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12 - 14 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 12 - 14 มิ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก ส่วนทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 12 - 15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24- 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในช่วงนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับสภาพอากาศที่มีฝนตกและหยุดตกสลับกัน ประกอบกับมีแสงแดดจัดในบางวัน เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดสนิมในกาแฟ ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาลและจะขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ใบเหลือง หลุดร่วง จนต้นทรุดโทรมและให้ผลผลิตลดลง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณด้านตะวันออกของภาค เฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนเกษตรกรที่เตรียมปลูกพืชในฤดูฝน ควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเอาไว้ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีเนื่องจากทำให้ลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลง กลาง ในช่วงวันที่ 12 - 14 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้สำหรับการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย โดยเฉพาะในระยะปลายเดือนนี้และต้นเดือนหน้าอาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนเจาะดอกในมะลิ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงเพื่อป้องกันสภาพน้ำเปลี่ยน หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 15 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 12 - 14 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกด้วง เช่น ด้วงงวงและด้วงแรด ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเจาะทำลายยอดอ่อนและวางไข่ โดยตัวอ่อนจะเจาะกินและชอนไช ทำให้ลำต้นเน่าใน ต้นเฉาแคระแกร็น ยอดหักพับและตายได้ NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 5 - 11 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมาในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-95 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงจนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแพร่ ในวันที่ 5 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65-95 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์และฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 5 และ 9 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 4 มิ.ย. และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 6 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 7 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 7 และ 9 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 6 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 และ 8 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 9 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 7 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 8 และ 11 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7-8 มิ.ย

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ