พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday June 19, 2023 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 73/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย / และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. ขอให้ประชาชน ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย.เกษตรกรควรระวังงอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวรวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักสำหรับชาวสวนลำไยที่อยู่ในระยะผลแก่และพร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรควรงดให้น้ำ 7-10 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืช เมือฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เจ็บป่วยได้ กลาง ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผักในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินบริเวณผิวใบ ทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย

          ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเฝ้าระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจกฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้ชาวสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลหมดแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วและพร้อมสำหรับการผลิดอกออกผลในฤดูถัดไป  ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20-23 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค           ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร           ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 24-25 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อฝนตกหนัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในไม้ผล โรคเส้นดำในในยางพารา เป็นต้น  PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ก่อนจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนในวันที่ 14 และ 15 มิ.ย. และพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 30-65 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14-15 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 20-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12, 15 และ 17 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 25-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 18 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 17 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12 และ 17 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ จันทบุรี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร เลย นครพนม หนองบัวลำภู อุดรธานี มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ