พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 76/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. ร่องมรสุม จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำสำหรับในช่วงวันที่ 26 - 30 มิ.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยห่างฝั่ง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่ จ. กระบี่ ขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างตั้งแต่ จ. ตรัง ลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และอ่าวไทยห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมาก บางพื้นที่บริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคในวันที่ 27 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลและโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ หลังคาไม่รั่วซึมและแผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรดูแลและซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณเฉียงเหนือ ตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น โรคแส้ดำในอ้อย โรคโคนเน่า หัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรค ปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลและซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรดูแลและซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. และ 1 - 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิ
ต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80% ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในไว้บ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ระยะนี้เกษตรกรควรดูแลและซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 26 - 30 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 26 - 30 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 ก.ค. ตั้งแต่ จ.กระบี่ ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.ตรัง ลงไป ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนหนาแน่นในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 19 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19 มิ.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 22 มิ.ย. ภาคกลางมีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23-24 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 21 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 21, 22, 24 และ 25 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด เชียงราย น่าน แพร่ หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา มหาสารคาม บุรีรัมย์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง นราธิวาส และยะลา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา