พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday July 7, 2023 14:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 81/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบ/ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ์าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 จะมีคลื่นกระแสฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือนในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. ขอให้ประชาชน ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วยสำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติกต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ์าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค.ฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น ไรแดงแอฟริกันในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. 66 เฉียงเหนือ มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. ฝนจะลดลง เกษตรกรควรเฝ์าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกักกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ กลาง ในช่วงวันที่ 8-13 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. -ระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ส่วนมากในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน จะทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้ เช่น โรคไหม้และใครใบขีดสีน้ำตาลในข้าว โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนน้อยและฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในพืชตระกูลส้ม เป็นต้น

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ส่วนมากในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ์าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลเน่า โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป์องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8-9 ก.ค. และ 12-13 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. 66 มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม. -ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุก ชาวสวนยางพารา และชาวสวนผลไม้ควรเฝ์าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเส้นดำ โรคใบยางร่วง โรครากขาวในยางพารา โรคผลเน่าในทุเรียน โรคราแป์งในเงาะ เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและเร่งฟื้นฟูสภาพสวน เพราะหากปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน จะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้ PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นกับฝนหนักหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะต้นช่วง จากนั้นฝนลดลง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 50-75 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30 มิ.ย. 2 และ 4 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดน่าน กับมีลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตร ในวันที่ 30 มิ.ย. และมีรายงานดินถล่มในบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 2 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 2 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง เว้นแต่วันที่ 1 และ 3 ก.ค. มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง เว้นแต่วันที่ 2 ก.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมาก จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณ

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ