พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday July 21, 2023 15:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 87/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 25 ก.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 ก.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศ     เมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรงตลอดช่วง ทำให้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัด     ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน "ทกซูรี" บริเวณด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ค. หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งตอนใต้ของประเทศจีนในวันที่ 27 ก.ค.    คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 - 25 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.ค.
          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21 - 25 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ    ด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศและดินที่ชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคราน้ำฝนในลำไย โรค  แคงเกอร์ในส้ม และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับ  ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยเข้าสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่อง    ตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 25 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน เฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรค เลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู สำหรับในช่วงที่สภาพอากาศและดิน    มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง  และโรคแอนแทรคโนสในพริก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น  กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 27 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับสภาพฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ  ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้ถูกสุขลักษณะ หลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม และแผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนหนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรปรับปรุงและบำรุงรักษาแหล่งเก็บกักน้ำให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 22 - 23 ก.ค. ลม

ตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับสภาพอากาศและดินที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคผลเน่าในสละ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยเข้าสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ นอกจากนี้ เกษตรกรควรปรับปรุงและบำรุงรักษาแหล่งเก็บกักน้ำให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้กักเก็บน้ำเอาไว้ ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21 - 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในวันที่ 27 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ. กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ สำหรับสภาพอากาศและดินที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลียงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออก จากฝั่งตลอดช่วง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.ค. AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวและเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 15 ก.ค. จากนั้นเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยในวันสุดท้ายของช่วงร่องมรสุมพาดผ่านเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ อนึ่ง พายุโซนร้อน "ตาลิม (TALIM,2304)" ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจากพายุดีเปรสชั่นเป็นพายุโซนร้อนในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน เมื่อวันที่ 15 ก.ค. และเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 16 ก.ค. และแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจ้านเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันที่ 17 ก.ค. จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย อ่อนกำลังลงตามลำดับและสลายตัวไปในช่วงเช้าของวันที่ 19 ก.ค.

          ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 17 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 15 ก.ค. และมีลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 17 ก.ค. อีกทั้งมีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพะเยาและเชียงใหม่ ในวันที่ 19 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 15 ก.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดหนองคาย ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 17 ก.ค. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่วันสุดท้ายของช่วง มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14,16 และ 19 ก.ค. กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในวันที่ 20 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 20 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-80 ของพื้นที่ เว้นแต่วันแรกของช่วง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 5    ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 18 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 17 ก.ค. และน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 14 และ 16 ก.ค. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 17 ก.ค. จังหวัดตรัง ในวันที่ 18 ก.ค. และจังหวัดกระบี่กับพังงา ในวันที่         19 ก.ค.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก มุกดาหาร ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง และสตูล ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ