พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 24 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday July 24, 2023 15:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 88/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ค. ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 29 - 30 ก.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทยตอนบน มีกำลังค่อนข้างแรง ตลอดช่วง ทำให้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ทกซูรี" บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ จะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 26 - 27 ก.ค. หลังจากนั้นจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค.

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 24 - 25 และ 29 - 30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่งบริเวณด้านตะวันตกและตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวนาควรระวังและป้องหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำที่ไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทำลาย ส่วนฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลตลอดจนผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่น และเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน แต่ควรนำไปกำจัดนอกบริเวณสวนโดยฝังให้ลึก นอกจากนี้ควรบูรณะซ่อมแซมแหล่งเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24 - 26 และ 29 - 30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน เฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกันอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวนาควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำที่ไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้ามาในแปลงนา แพร่พันธุ์ และกัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป ส่วนพื้นที่ซึ่งฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับพืชไร่ และพืชผัก ที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสม ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ควรบูรณะซ่อมแซมแหล่งเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 26 - 30 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกันอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยเข้าสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสม ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรบูรณะซ่อมแซมแหล่งเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว

20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักมากและฝนตกหนักติดต่อกันอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยเข้าสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสม ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ เกษตรกรควรบูรณะซ่อมแซมแหล่งเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อจะได้เก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ตั้งแต่ จ.พังงา ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ. ภูเก็ต ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศและดินที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ ตลอดช่วง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 17 - 23 กรกฎาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "ตาลิม (TALIM,2304)" ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจ้านเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันที่ 17 ก.ค. จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย อ่อนกำลังลงตามลำดับและสลายตัวไปในเช้าของวันที่ 19 ก.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค

          ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 17 ก.ค. น้ำท่วมบริเวณจังหวัดพะเยาและเชียงใหม่ ในวันที่ 19 ก.ค. และจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 23 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 21 และ 23 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดหนองคาย ในวันที่ 18 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 21 ก.ค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ในวันที่ 22 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและระยะปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรก    ของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในวันที่ 20 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 20 ก.ค. จังหวัดตราด       ในวันที่ 20-21ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายก ในวันที่ 21 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90     ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และวันที่ 21 ก.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 18 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 17 ก.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร ในวันที่ 18 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 17ก.ค. จังหวัดตรัง ในวันที่ 18 ก.ค. และจังหวัดกระบี่กับพังงา ในวันที่ 19 ก.ค. และมีน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 18-20 ก.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก มุกดาหาร กาฬสินธุ์ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ