พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday August 2, 2023 15:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 92/2566 พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 ? 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 8 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 2 ? 5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตอนบน และด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีน้ำท่วมชาวนาควรป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยดังกล่าวไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้าสู่แปลงนาและแพร่พันธุ์กัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดหาพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงหากเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนจัดเตรียมอาหารสัตว์ และระบบส่องสว่างยามค่ำคืนเอาไว้ให้พร้อม นอกจากนี้ฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น อนึ่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ตะวันออก เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีน้ำท่วม เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรค เลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู ส่วนชาวนาควรป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอย ดังกล่าวไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้าสู่แปลงนาและแพร่พันธุ์กัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป ส่วนฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง และโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น อนึ่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่นโคและกระบือ เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและขุดลอกคูคลองให้น้ำไหลได้สะดวก รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งานหากระบายน้ำออกจากพื้นที่ตามปกติไม่ทัน ส่วนพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคดอกเน่าในไม้ดอก และโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น อนึ่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 8 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 ? 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 ? 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกนานทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ ส่วนพื้นที่ซึ่งฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และรากเน่าในพริกไทย เป็นต้น อนึ่ง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 8 ส.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 37 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 4 ? 8 ส.ค. ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว 2 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็น โรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงและหลังจากฝนตกควร เปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน โดยเฉพาะ ทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่น สูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. เรือเล็กบริเวณ ทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม ? 1 สิงหาคม ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาญจนบุรี และชุมพร ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ เลย หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ยโสธร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ภาคเหนือ 135.0 มม. ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 317.0 มม. ที่ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ภาคกลาง 90.8 มม. ที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ภาคตะวันออก 75.5 มม. ที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ภาคใต้ 90.4 มม. ที่ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มีรายงานฝนตกหนัก หมายเหตุ เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0 กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 3 ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร 02-399-2387 ; 02-366-9336 อุณหภูมิ ความยาวนานแสงแดด คลื่น ฝน 1 -2 ม. [23-27/33-37] 3-5 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์60-80% [24-29 /29-35] 2-4 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% [22-28/29-37] 2-5 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % 2 -3 ม. 40-70% 40-70 % 30-60 % 40-80% 30-60% เปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-หนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 2 ?8 สิงหาคม 2566 พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7วันข้างหน้า [23-27/29 -36] 2-5 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์70-80 % [23-27/28-37] 2-5 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % 60-80% ฉบับที่92/66 ระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ทำทางระบายน้ำ ระวังคลื่นลมแรง ระวัง หอยเชอรีในนา ระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ไม่ควร ให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะ ระวังคลื่นลมแรง ระวังโรคเน่าในกล้วยไม้

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ