พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 94/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและ
ป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 7-8 และ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคแคงเกอร์จากเชื้อแบคทีเรียในพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค. ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก กลาง ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตร
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น
สูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตร RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์ อนึ่ง ไต้ฝุ่น "ขนุน (KHANUN, 2306)" บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวันได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในช่วงค่ำของวันที่ 4 ส.ค.
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 31 ก.ค. และ 5 ส.ค. และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 1 ส.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 5 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 1 และ 4 ส.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 2 ส.ค. และจังหวัดน่านในวันที่ 5-6 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 ส.ค. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 1-2 ส.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดบึงกาฬในวันที่ 31 ก.ค. จังหวัดนครพนมในวันที่ 1 ส.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 31 ก.ค. จังหวัดขอนแก่นและร้อยเอ็ดในวันที่ 1 ส.ค. และจังหวัดยโสธร ในวันที่ 1-2 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 31 ก.ค., 3, 4 และ 6 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 31 ก.ค., 1, 4 และ 6 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4-5 ส.ค. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน ตาก สกลนคร และนครพนม ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ลพบุรี กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา