พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday August 9, 2023 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 95/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 12 - 15 สิงหาคม 66 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 12 - 13 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในมะละกอ โรคราน้ำฝนในลำไย และโรครากเน่าโคนเน่าในสับปะรด รวมทั้งโรคเน่าเละในผักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในพืชตระกูลกะหล่ำ เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นดินระบายน้ำยาก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. เฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลเน่าในแก้วมังกร โรคแส้ดำในอ้อย โรคโคนเน่าหัวเน่าในมันสำปะหลัง และโรครากเน่าโคนเน่าในพริก เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาดหากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงเปียกฝนและหนาวเย็น อีกทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรคดอกเน่าในดาวเรืองโรคยอดเน่าในกล้วยไม้และโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลมะนาว เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูก โดยเผาหรือฝังให้ลึกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนม้วนใบในถั่วเขียว ตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมี

คลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9 - 11 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 12 - 15 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 2566 ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน ตาก สกลนคร นครนายก และสตูล ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ลพบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ