พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday August 21, 2023 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 100/2566 การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 22 - 23 ส.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ส.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 - 24 ส.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 และ 24 - 26 ส.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 22 - 23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวนาควรระวังหอยเชอรี่ ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยดังกล่าวไปทำลาย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและแผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคราน้ำฝนในลำไย โรคแคงเกอร์ในส้ม และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันออกของภาค เฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่น โคและกระบือเป็นต้น สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง และโรคแอนแทรกโนสในพืชไร่และพืชผักเป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น กลาง ในช่วงวันที่ 22 - 26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันออกของภาคในช่วงวันที่ 24 - 26 ส.ค. และในวันที่ 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น และไร เป็นต้น จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 23 และ 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่

24 - 26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน และโรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับระยะนี้ คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21 - 24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % - ระยะนี้ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนในวันที่ 17 ส.ค. และร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นมีกำลังปานกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมหลายพื้นที่

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวัน อื่น ๆ มีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 14-15 ส.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตร ในวันที่ 14 ส.ค. และจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 20 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 17 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่วันที่ 16, 18 และ 19 ส.ค. มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14, 16, 19 และ 20 ส.ค. กับมีฝนหนักมาก บางแห่งในแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 15 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 15 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 16 และ 19 ส.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาและภูเก็ต ในวันที่ 14 ส.ค. จังหวัดสตูล ในวันที่ 14-15 ส.ค. และจังหวัดระนอง ในวันที่ 15 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 15 ส.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก นครพนม สุพรรณบุรี นครนายก จันทบุรี ระนอง พังงา ตรัง และสตูล ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส ภูเก็ต และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ