พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 กันยายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday September 1, 2023 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 กันยายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 105/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีทะเลคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง จากสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด โรคผลเน่าในแก้วมังกร เป็นต้นตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ย. 66 และ 5-7 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงเฉียงเหนือ วันที่ 3-4 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว จากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกในระยะนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในพืชผักและไม้ผลไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำท่วมขังที่สกปก หากมีความจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 4-6 ก.ย. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช และควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. -ระยะนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล สำหรับ ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 5-7 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 5-7 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นเพิ่มออกซิเจนในน้ำ อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 16 - 22 สิงหาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในวันแรกของช่วงและในวันที่ 28 ส.ค. โดยร่องมรสุมได้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 29 และ 30 ส.ค. จากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 25, 26, 29 และ 30 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 30 ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 28 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ เว้นแต่วันแรกกับวันสุดท้ายของช่วง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25, 30 และ 31 ส.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70 ของพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพัทลุง ในวันที่ 25 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 26, 28, 30 และ 31 ส.ค.

มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสกลนคร ลพบุรี และตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ