พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 8 - 14 กันยายน พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 108/2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9 - 14 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง
มากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักและหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ในส้ม โรคราสนิมในกาแฟ โรคราน้ำฝนในลำไย โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคไหม้ในข้าวนาปี เป็นต้น สำหรับในช่วงฤดูฝนสัตว์ศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น และไรต่างๆ จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยงทำให้ชะงักการเจริญเติบโต และบางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงด้วย อนึ่ง เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บกักน้ำควรบูรณะซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ และกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 8 และเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 13 - 14 ก.ย. ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืช ไร่ พืชผัก และข้าวนาปี เช่น โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคแส้ดำในอ้อย โรคแอนแทรกโนสในพืชผัก และโรคไหม้ในข้าวนาปี เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่น โคและกระบือเป็นต้น อนึ่ง เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำควรซ่อมแซมและดูแลแหล่งกักเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตร
ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืช ไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนในช่วงฤดูฝนสัตว์ศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น และไรต่างๆ จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยงทำให้ชะงักการเจริญเติบโต และบางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงด้วย อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรซ่อมแซมและดูแลแหล่งกักเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนัก
มากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ ส่วนในช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ระยะนี้เกษตรกรควรซ่อมแซมและดูแลแหล่ง กักเก็บน้ำให้ใช้ได้ตามปกติ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 1 - 7 กันยายน 2566 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยตลอดช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีกำลังปานกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 2 และวันที่ 4 ก.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำพูน ในวันที่ 1-2 ก.ย. จังหวัดแพร่ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ในวันที่ 2 ก.ย. จังหวัดลำปางและแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 5 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 85-95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 1 ก.ย. จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 4 ก.ย. จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 4-5 ก.ย. จังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 5 ก.ย. และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 6 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ เว้นแต่วันแรกและวันสุดท้ายของช่วง มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 4 ก.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระบุรี ในวันที่ 4 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 1 ก.ย. และวันที่ 5 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด ในวันที่ 2 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 1 ก.ย. และจังหวัดชุมพร ในวันที่ 4 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสตูล ในวันที่ 1-3 ก.ย. และจังหวัดพังงา ในวันที่ 2-3 ก.ย. อีกทั้งมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ในวันที่ 2 ก.ย.
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ พิษณุโลก อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ลพบุรี อ่างทอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส และกระบี่
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา