พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 กันยายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday September 11, 2023 13:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 กันยายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 109/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อม/ ความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ตลอดช่วง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่น โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด โรคผลเน่าในแก้วมังกร เป็นต้นตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-13 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค เฉียงเหนือ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ รวมทั้งควรซ่อมแซมโรงเรือนอย่าให้ฝนสาดเข้าไปได้ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝนจนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่ายนอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำท่วมขังที่สกปรก เพื่อป้องกันโรคฉี่หนูและโรคน้ำกัดเท้า กลาง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย นอกจากนี้ควรปรับปรุงแหล่งน้ำในสวนไร่นาเพื่อจะได้กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-13 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ระยะนี้มีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวสวนผลไม้และชาวสวนยางพาราควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า สำหรับทะเลจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ อนึ่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 4 - 10 กันยายน 2566 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นมีกำลังปานกลาง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 5-7 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 4 และ 5 ก.ย. ตามลำดับ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปาง ในวันที่ 5 ก.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 5 และ 9 ก.ย. จังหวัดน่าน ในวันที่ 7 ก.ย. และจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 9 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 4 ก.ย. จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 4-5 ก.ย. จังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 5 ก.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนม ในวันที่ 6 ก.ย. จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 6 และ 9 ก.ย. และจังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 9 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 4, 7 และ 8 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระบุรี ในวันที่ 4 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 8 ก.ย. มีฝนร้อยละ 95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 5 และ 9 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณ จังหวัดชุมพร ในวันที่ 4 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 15-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์

มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ พิษณุโลก อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ลพบุรี อ่างทอง ตราด ระนอง พังงา และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชุมพร สงขลา ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ