พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday September 20, 2023 13:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 113/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคกลาง ภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออก ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน เพราะอาจทำให้ต้นเสียหายและตายได้ นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว เฉียงเหนือ 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังควรเฝ้าระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนม้วนใบและหนอนเจาะฝักในถั่วเหลือง เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย

ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. -ระยะนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร เมื่อมีฝนตกหนัก ในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคโคนเน่าหัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับปรุงและเสริมคันบ่อ ทำทางระบายน้ำและขุดลอกตะกอนดิน เพื่อให้น้ำไหลเข้าออกได้สะดวก ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตร เมื่อมีฝนตกหนัก ในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราดำในลองกอง โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก อนึ่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 กันยายน 2566 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ลพบุรี ตราด และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ