พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 116/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุมไปทางประเทศเมียนมา ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3
เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศไทยตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทย จะฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใกล้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 27 - 28 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ต. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราน้ำฝนในลำไย และโรคแคงเกอร์ในส้ม เป็นต้น ส่วน ไม้ผลที่แก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสีย ตลอดจนเปลือกผลไม้ กองอยู่ในสวน เพราะจะเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช แต่ควรนำไปกำจัดนอกสวน อนึ่ง ในระยะต่อไปพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้งที่จะมาถึง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน) ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 27 - 28 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง และโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น ส่วน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น อนึ่ง ในระยะต่อไปพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้งที่จะมาถึง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน) กลาง ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคดอกเน่าในดาวเรือง และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมคันดินบริเวณขอบบ่อและจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำ เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรบูรณะแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม เพื่อจะได้เก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้งที่จะมาถึง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน) ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ลมแปรปรวน
ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคใบติดในทุเรียน และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรบูรณะแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม เพื่อจะได้เก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง (ฤดูหนาวและฤดูร้อน) ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสนิมในกาแฟ โรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น ส่วน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมคันดินบริเวณขอบบ่อและจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำ เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น
ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน 2566 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ลพบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สระแก้ว ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช พัทลุง และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา