พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday October 2, 2023 15:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 2 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 118/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดา

มัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนเพิ่มขึ้น คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 2-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับในพื้นที่ซึ่งน้ำลดระดับลงแล้วควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของเฉียงเหนือ พื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรป้องกันน้ำท่วมขัง กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรป้องกันน้ำท่วมขัง ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35

กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดพังงา ขึ้นไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ลงมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ และควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรป้องกันน้ำท่วมขัง นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดสัปดาห์ โดยพาดเข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันแรกของสัปดาห์ พายุลูกนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่ 25 ก.ย. และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในเวลาต่อมา โดยหย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศเมียนมาตามลำดับในช่วงวันที่ 26-28 ก.ย. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยโดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 27 ก.ย. จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 27 ก.ย. - 1 ต.ค. จังหวัดลำปางและตาก ในวันที่ 28 ก.ย. - 1 ต.ค. จังหวัดเพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ ในวันที่ 29-30 ก.ย. จังหวัดแพร่ ลำพูน และเชียงใหม่ ในวันที่ 29 ก.ย. - 1 ต.ค. อีกทั้งมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 25 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 85-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะวันที่ 26-28 ก.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดยโสธรและอุบลราชธานี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 25-28 ก.ย. จังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 26 ก.ย. จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 27 ก.ย. จังหวัดเลย และขอนแก่น ในวันที่ 28 ก.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 28 ก.ย. - 1 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 26-27 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 25 ก.ย. และจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 27 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-95 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งและมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 26-28 ก.ย. เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ย. มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 27-30 ก.ย. และ 1 ต.ค. และจังหวัดตราด ในวันที่ 28 ก.ย. และจังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 29 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสตูล ในวันที่ 26 ก.ย. อีกทั้งมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ในวันที่ 26 ก.ย. และจังหวัดพัทลุง ในวันที่ 27 ก.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เลย อุดรธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ