พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday October 9, 2023 13:33 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 121/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. 66 ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้/ ตอนบน โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง คำเตือน ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 9-10 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรอพยพไปอยู่ในที่น้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 และ 13-15 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เฉียงเหนือ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู โดยจะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะอาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ กลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางเกษตรไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่สัตว์เลี้ยงควรอพยพไปอยู่ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าในพืชผัก โรคไหม้ในข้าว โรคใบจุดในพริก เป็นต้น

ตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 10-11 ต.ค. 66 ในช่วงวันที่ 10-15 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนชุก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวสวนควรผูกยึดค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโคนล้มเมื่อมีลมแรง รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง โรคแส้ดำในอ้อย โรครากเน่าโคนน่าในไม้ผล เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะอาจทำให้สัตว์เจ็บป่วยได้ใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-15 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 10-12 ต.ค. 66 ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10-15 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม. - ระยะนี้มีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับสัตว์เลี้ยงควรอพยพไปอยู่ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในไม้ผล เป็นต้น สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มควรระมัดระวังและในการเดินเรือ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองPK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้เลื่อนลงมาภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง โดยเลื่อนกลับขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลางในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 5 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 2-5 ต.ค. จังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 5-6 ต.ค. จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 6 ต.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และพิษณุโลก ในวันที่ 8 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 45-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและกาฬสินธุ์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดขอนแก่นและเลย ในวันที่ 8 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 3 และ วันที่ 5 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 2 ต.ค. จังหวัดตราด ในวันที่ 4 ต.ค. และจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 7 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 7 ต.ค. มีฝนร้อยละ 95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 5 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 2 วันที่ 4 และวันที่ 5 ต.ค.

มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี นราธิวาส ระนอง พังงา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ สกลนคร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา ภูเก็ต และกระบี่

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ