พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday October 16, 2023 15:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 124/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ตะวันออก และอ่าวไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม โดยช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว พร้อมทั้งค้ำยังกิ่งให้มั่นคงแข็งแรง ควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งเกษตรกรควรเร่งฟื้นฟูสภาพสวนหลังน้ำลดให้กลับมาสู่สภาวะปกติ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 19 และ 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเฉียงเหนือ ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาด หากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู กลาง ในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยยกวางสิ่งของไว้บนที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ

40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงและควรขุดลอกคูคลองพร้อมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้

NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันแรกของสัปดาห์ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10-11 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และทะเลจีนใต้ส่งผลให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และเลื่อนพาดผ่านอ่าวไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกมีฝนตกชุกเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 12 กับวันที่ 13 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 9 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 9-15 ต.ค. จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 9 ต.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันที่ 9-10 ต.ค. จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก ในวันที่ 9-12 ต.ค. จังหวัดน่าน และแพร่ ในวันที่ 9 ต.ค. จังหวัดตาก ในวันที่ 10-11 ต.ค. และจังหวัดพะเยา ในวันที่ 15 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยและหนองบัวลำภู ในวันที่ 9-11 ต.ค. จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม ในวันที่ 9 ต.ค. จังหวัด

ชัยภูมิ ในวันที่ 9-12 ต.ค. จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 10-12 ต.ค. และจังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 10-15 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9, วันที่ 11 และวันที่ 13 ต.ค. กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 9-10 ต.ค. และวันที่ 15 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 9 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 9-11 ต.ค. กับวันที่ 14 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 12-13 ต.ค. และจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 14 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 13 ต.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลพบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ