พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday October 18, 2023 14:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 125/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ภาคตะวันออก และอ่าวไทย เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 66 บริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 18-19 และ 23-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - จากสภาพอากาศที่ยังคงมีฝนตกและในบางพื้นที่เริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง โรคดอกเน่าในไม้ดอก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงควรจัดเตรียมเครื่องกันหนาวให้พร้อม เพื่อเตรียมรับอากาศหนาวที่จะมีขึ้นในช่วงถัดไปของปีนี้ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18-19 และ 22-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าเฉียงเหนือ คะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ทำให้มีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้กลางแจ้งและใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะสัตว์อาจได้รับอันตรายได้ นอกจากนี้เกษตรกรโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องกันหนาวให้พร้อม เพื่อเตรียมรับอากาศหนาวที่จะมีขึ้นในช่วงถัดไปของปีนี้ กลาง ในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคดอกเน่าในไม้ดอก โรคไหม้ในข้าว โรคใบจุดในพริก เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน เพราะอาจทำให้ต้นพืชตายได้

ตะวันออกในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวสวนผลไม้ควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบติดในทุเรียน โรคแส้ดำในอ้อย โรครากเน่าโคนน่าในไม้ผล เป็นต้น ใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18-19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย รวมทั้งควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตกPK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11-17 ตุลาคม 2566 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ หนองบัวลำภู กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ