พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday October 25, 2023 13:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 128/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 - 28 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 29 - 31 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝน

ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง สำหรับระยะนี้ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. ส่วนในวันที่ 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 -  20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาว และจัดเตรียมวัสดุสำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราน้ำฝนในลำไย และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น อนึ่ง พื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 25 - 30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. เฉียงเหนือ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่                          ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศา
  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาว และวัสดุสำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง และโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น อนึ่ง ระยะนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 25 - 27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

บางแห่งในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. โดยในวันที่ 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคยอดเน่าในกล้วยไม้ และโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น ในช่วงฤดูฝนศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น และไร เป็นต้น จะเจริญเติบโตได้ดี ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงชะงักการเจริญเติบโตและศัตรูสัตว์บางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยง อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออกในช่วงวันที่ 25 - 27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร โดยในวันที่ 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 25 - 29 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25 - 29 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18 - 24 ตุลาคม 2566 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ปราจีนบุรี ตราด ชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ นครพนม กาฬสินธุ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ