พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 129/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 27-29 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรในภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 27-31 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. 66 ส่วนในวันที่ 1-2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำยันลำต้นและกิ่งของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. เฉียงเหนือ 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผลและพืชผัก นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 27-31 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 1-2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในดาวเรือง หนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น
ตะวันออกในช่วงวันที่ 27-31 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - จากสภาพอากาศที่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำยันของกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 27-29 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัด นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27-29 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองPK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 20 - 26 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตลอดช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่าง ในขณะเดียวกันบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นได้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกเกือบตลอดช่วง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัยและแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 20 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยฝนหนักบางแห่งในวันที่ 20, วันที่ 23 วันที่ 25 และวันที่ 26 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22-23 ต.ค. มีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 20 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดราชบุรี และมีรายงานลมกระโชกบริเวณจังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 20 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 23-24 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 22-23 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 22 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 20 , 22 และ 24-26 ต.ค.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตราด นครศรีธรรมราช และสงขลา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร นครพนม หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มาหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา