พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 130/2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 2-5 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย
ควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคเน่าเละจากเชื้อแบคทีเรียในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น สำหรับในพื้นที่ซึ่งน้ำลดระดับลงแล้วควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 พ.ย. มีหมอกในเฉียงเหนือ ตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืช ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับในพื้นที่ซึ่งน้ำลดระดับลงแล้วควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม กลาง ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. และช่วงวันที่ 2-5 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในพื้นที่ซึ่งน้ำลดระดับลงแล้วควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วง
วันที่ 1-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 23-29 ตุลาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบนกับมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่างในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะกลางและปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27-28 ต.ค. มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 23 ต.ค. จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ในวันที่ 28 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-60 ของพื้นที่ โดยฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 28 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์และอุบลราชธานี และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 23 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 28 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 28 ต.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 23 วันที่ 24 และวันที่ 28 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยเฉพาะวันที่สุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 27 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 23 และ 25 ต.ค. มีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด นครราชสีมา อุทัยธานี สงขลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร เพชรบูรณ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา