พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday November 1, 2023 13:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันพุธที่ 1 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 131/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 1 - 2 และ 6 - 7 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันออกและตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศอาจแปรปรวนโดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผลและพืชผัก นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตะวันออกและตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 2 - 5พ.ย. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง ในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันออกและตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและควรระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนในพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมขัง ในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรเร่งฟื้นฟูสภาพสวนหลังน้ำลดให้กลับมาสู่สภาวะปกติและหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันดินแน่น ส่งผลต่อระบบรากพืชและอาจทำให้ติดหล่มได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 2 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง

ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศอาจแปรปรวนโดยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ระยะนี้แม้ฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 2 และ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1 - 2 และ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ควรจัดเก็บวางสิ่งของไว้บนที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

           ระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด สุโขทัย นครราชสีมา อุทัยธานี และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร        เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี   นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี นครนายก ชลบุรี ระยอง เพชรบุรี      ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ