พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 132/2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์ กันหนาวสำหรับตนเอง และจัดเตรียมวัสดุสำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้ให้พร้อม เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่ซึ่งยังมีฝนตก ดินและอากาศยังคงมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเอง และจัดเตรียมวัสดุสำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ตลอดจนข้าว นาปี เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25
กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออกในช่วงวันที่ 3 - 6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น และควรกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกพืช เพื่อไม่ให้แย่งธาตุอาหารและน้ำจากพืชที่ปลูกและศัตรูพืชบางชนิดยังเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกเกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นที่ลุ่ม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง AS ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วงและวันที่ 30 ต.ค. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 30 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ในวันที่ 28 ต.ค. และจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 30-31 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง เว้นแต่วันที่ 30 ต.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 30 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 28 ต.ค. วันที่ 30 ต.ค. และวันที่ 1 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 80-95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 29 ต.ค. และวันที่ 1 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 27 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย นครราชสีมา อุทัยธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี นครนายก ชลบุรี ระยอง เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา