พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday November 6, 2023 15:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 133/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนจากประเทศจีนปกคลุม/ ประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง จากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบน ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง คำเตือน ในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. ขอให้เกษตรกร ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 11-12 พ.ย. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยบางพื้นที่จะยังคงมีฝน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งในพริก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรเตรียมเครื่องกันหนาวให้พร้อมสำหรับใช้ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะเกษตรกรที่อยู่บนพื้นที่สูงตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-เฉียงเหนือ 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง จากสภาพอากาศที่มีฝนตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝักในถั่วเหลือง หนอนชอนใบในพืชตระกูลส้ม หนอนกระทู้ในหอมแดงและหอมหัวใหญ่ เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะฝักในพืชตระกูลถั่ว หนอนกระทู้ในหอมแดง หอมใหญ่ หนอนกระทู้ผักในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

ตะวันออกในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 9-12 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรที่มีพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-12 พ.ย จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามันในช่วงดังกล่าว โดยบริเวณความกดอากาศสูงมีกำลังอ่อนลงกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนในวันแรกของสัปดาห์และในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันถัดมา ส่วนวันอื่นๆ มีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 30-31 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นแทบไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาคกับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและกาฬสินธุ์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 30 ต.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรี ในวันที่ 5 พ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-70 ของพื้นที่ ในวันแรกและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ กับฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 4 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางแห่งใน วันที่ 1 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 30 ต.ค. วันที่ 2 และวันที่ 4 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกระบี่ ในวันที่ 2 พ.ย.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ