พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤศจิกายน 2566

ข่าวทั่วไป Friday November 10, 2023 16:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 135 /2566

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 ? 14 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 16 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอาจมีฝนตกหนักกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

ในช่วงวันที่ 11 ? 13 พ.ย. และวันที่ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ? 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14 ? 15 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.

- ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว โดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย อีกทั้งควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนทั้งในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

ตะวันออก เฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10 ? 12 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ? 30 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 11 - 12 พ.ย.อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 ? 16 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 ? 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19 ? 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.

- ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ย. จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราด้วย เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง ในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น

กลาง

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ? 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 ? 13 พ.ย. และวันที่ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ? 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. โดยในช่วงที่ 14 ? 15 พ.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม.

- ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยยังคงมีฝนตกหนักกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก โดยเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ? 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 ? 13 พ.ย. และวันที่ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ? 30 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร โดยในช่วงที่ 14 ? 15 พ.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 8 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง ส่วนฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ระยะนี้แม้ฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชผลทางการเกษตรด้วย

ใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 11 และ 14 ? 16 พ.ย. ในช่วงวันที่ 10 - 11 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และในช่วงวันที่ 12 - 16 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 35 องศาเซลเซียส

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ? 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช 2

NT

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 3 ? 9 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดช่วง ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามันในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อย ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 35 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 5 และ วันที่ 7 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและกาฬสินธุ์ จนกระทั่งถึงวันที่ 8 พ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 5 พ.ย. ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วงและวันที่ 7 พ.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 45-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6 พ.ย. และในระยะปลายช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรี ในวันที่ 5 พ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 4 พ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 8 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-65 ของพื้นที่ เว้นแต่วันแรกของช่วง มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ ในระยะต้นช่วงกับในวันที่ 7 และวันที่ 9 พ.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ตรัง และสตูล

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

59.8

มม.

ที่

อ.ประคำ

จ.บุรีรัมย์

เมื่อวันที่

5

พ.ย.

ภาคกลาง

89.7

มม.

ที่

อ.บางปลาม้า

จ.สุพรรณบุรี

เมื่อวันที่

8

พ.ย.

ภาคตะวันออก

125.7

มม.

ที่

อ.บางปะกง

จ.ฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่

4

พ.ย.

ภาคใต้

86.2

มม.

ที่

อ.สุคิริน

จ.นราธิวาส

เมื่อวันที่

5

พ.ย.

กรุงเทพมหานคร

53.8

มม.

ที่

กระทรวงศึกษาธิการ

เขตดุสิต

เมื่อวันที่

5

พ.ย.

ภาคเหนือไม่มีรายงานฝนตกหนัก

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 3

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

อุณหภูมิ

ความยาวนานแสงแดด

คลื่น

ฝน

1 -2 ม.

[23-26 /32-35] 6-8 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์65-75 %

[23-26 /30-35] 4-8 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

[22-26/30-35] 2-4 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 %

1 -2 ม.

20-40%

10-30 %

10-40 %

20-60%

60-80%

เปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงวันที่13-16พ.ย.อุณหภูมิจะลดลง1-3องศา

เกษตรกรในภาคใต้ควรระวังน้ำท่วมฉับพลัน?น้ำป่าไหลหลาก-น้ำล้นตลิ่ง

ระหว่างวันที่ 10 ?16 พฤศจิกายน 2566

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7วันข้างหน้า

[20-27/31-36] 8-9 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์60-70 %

[19-26/29-35] 8-9 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

60-80%

ฉบับที่135/66

ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ทำทางระบายน้ำ

เตรียมเก็บน้ำสำรองไว้ใช้

ระวังโรคราน้ำค้าง

ระวังศัตรูจำพวกหนอน

เตรียมควบคุมอุณหภูมิโรงเรือน

ควรค้ำยันกิ่งไม้ผล

ระวัง เชื้อราในพริก

ระวังโรคราน้ำค้าง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ