พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 136 /2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13 - 15 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนืออุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก บางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร สำหรับในช่วงวันที่ 16 - 19 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือ
มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 16 - 19 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และลมแรง รวมทั้งควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความ
ระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในวันที่ 13 และ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ย. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 15 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และควรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่แหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เนื่องจากในฤดูฝนวัชพืชจะเจริณเติบโตได้ดี โดยเฉพาะไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่นลิ้นจี่และลำไย เป็นต้น ควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน เพื่อให้ดินแห้ง เมื่ออุณหภูมิลดลงและยาวนานที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้พืชดังกล่าวออกดอกได้ดี ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยเฉียงเหนือ บางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 17 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และ อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ กับมีลมแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่แหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงแล้ง ควรมีแหล่งน้ำสำรองให้แก่พืช เพื่อป้องกันพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในวันที่ 13 และ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. โดยในช่วงที่ 17 - 19 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน โดยในช่วงที่ 17 - 19 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนมีฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในวันที่ 13 และ 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น
ต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงที่ 14 - 15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร โดยในช่วงที่ 17 - 19 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงที่ 17 - 19 พ.ย. จะมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากทางตอนบนของภาคในวันที่ 15 - 16 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. ตอนบนของภาค : อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 13 - 16 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน และควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงตลอดจนจัดเตรียมอาหารสัตว์และระบบส่องสว่างยามค่ำคืนเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 19 พ.ย. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ย. นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อย ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์โดยมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 7 พ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 45-70 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 11 พ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6 วันที่ 10 และวันที่ 11 พ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระยอง ในวันที่ 8 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 8 พ.ย. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 12 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 6 และ วันที่ 8 พ.ย. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิจิตร สุรินทร์ อุทัยธานี ชัยนาถ ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา