พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday November 20, 2023 14:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 139/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-24 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย รวมทั้งทะเลจีนใต้ ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับ

บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะฝนตกหนักถึงหนักมากเกษตรกรควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนบางแห่ง แต่ยังคงมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-เฉียงเหนือ 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-17 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวแก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 21-25 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 26 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนบางแห่ง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่แหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อาจทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด

18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. ตอนบนของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 พ.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในวันที่ 26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ในช่วงต้นของสัปดาห์ จากนั้นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะปลายสัปดาห์ กับมีรายงานฝนบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไป และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค กับมีอากาศหนาวบริเวณเทือกเขาและยอดดอย มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 13 และ วันที่ 16 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศเย็นทั่วไป และมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค กับมีอากาศหนาวบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคกลางมีอากาศเย็นทั่วไปในระยะปลายสัปดาห์มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 16 พ.ย. ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะปลายสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 16-17 พ.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 15 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 13 พ.ย. จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา ในวันที่ 13 และ วันที่ 16-19 พ.ย. จังหวัดพัทลุง ในวันที่ 16-19 พ.ย. จังหวัดชุมพร ในวันที่ 17-18 พ.ย. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 18 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 13 วันที่ 16 และ วันที่ 17 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 17 พ.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ