พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday November 22, 2023 14:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 140/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีหมอกหนาในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จาก

ประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลทำให้มี ลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนภาคใต้ระยะนี้จะฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวอากาศจะจมตัว ควันไฟจะไม่สามารถลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้สะดวก แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียง ทำให้ทัศนวิสัยลดลง เป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนนและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยเฉียงเหนือ บางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25   กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20      ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.    ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น สำหรับปริมาณน้ำระเหยที่มีมากใน

ระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับพื้นที่ซึ่งความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต และระยะผลิดอกออกผล หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง กลาง ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงที่ 25 - 28 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด

21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงที่ 25 - 28 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น โดยเฉพาะพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนเห็นดอกชัดเจนก่อนจึงค่อยเริ่มให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่และไม้ผล ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. ตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22 - 25 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างของภาคจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ระยะนี้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนทางฝั่งตะวันตกปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ