พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 24 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 141/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จาก/ ประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ประกอบกับจะในช่วงวัน 24-27 พ.ย. 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรในภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย.คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 25-30 พ.ย. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพดและพืชตระกูลกะหล่ำ โรคโคนเน่าในถั่งลิสง เป็นต้นตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-30 พ.ย. 66 อุณหภูมิจะลดลงและอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส ตอนบน: อากาศเย็นถึงหนาวในเฉียงเหนือ ตอนเช้า ตอนล่าง: อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในตอนเช้ามีอากาศเย็นถึงหนาว โดยจะมีฝนตกได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุณอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษาโดยเร็ว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น กลาง ในช่วงวันที่ 25-30 พ.ย. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. มีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนเจาะผลในมะเขือ หนอนกระทู้ในถั่วเขียว หนอนม้วนใบในถั่วเขียว เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งธาตุอาหารจากพืช และยังเป็นการทำลายแหล่งสมของโรคและศัตรูพืชด้วย
ตะวันออกในช่วงวันที่ 25-30 พ.ย. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนบางพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร่ เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย ใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่าง ตั้งแต่ ชุมพร ขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี ลงมา ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-25 และ 29-30 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปอยู่ที่สงน้ำท่วมไม่ถึง สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโรคในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อนึ่ง คลื่นลมทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทะเลจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศไทยในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอ่อนกำลังลง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ได้อ่อนกำลังลงในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง บริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง และมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค บริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง เว้นแต่วันแรกของช่วงมีอากาศเย็นบางพื้นที่v ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง เว้นแต่วันแรกของช่วงมีอากาศเย็นบางพื้นที่ กับมีอากาศหนาวบริเวณเทือกเขาตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 65-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นช่วงและวันสุดท้ายของช่วง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ในวันที่ 17-19 พ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชุมพร ในวันที่ 17-18 พ.ย. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 18 พ.ย. และจังหวัดยะลากับนราธิวาส ในวันที่ 22 พ.ย. อีกทั้งมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 20 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 20-21 มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 17 พ.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตักหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี และตรัง สำหรับปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 264.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา