พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 142 /2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 28 - 29 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำ
ความชื่นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองกับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งถึงช่วงวันที่ 29 พ.ย.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 28 - 30 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว โดยจะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะบริเวณยอดดอยเกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28 - 29 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14
- 18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้เข้าสู่ต้นฤดูหนาว มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรวมทั้งให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ โดยจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 30 พ.ย. อากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยจะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก กลาง ในช่วงที่ 28 - 29 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาวสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง ในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงที่ 28 - 29 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ
ต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อีกทั้งเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูหนาวและฤดูร้อน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและควรกักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงที่มีฝนน้อย ระยะนี้แม้ฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชผลทางการเกษตรด้วย ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27 - 29 พ.ย. ตั้งแต่ จ. สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค.ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สงขลา ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 33 องศาเซลเซียส
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27 - 28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย. - 3 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงและไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรงโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ควรจัดเก็บวางสิ่งของไว้บนที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ โดยระยะนี้เกษตรกรควรต้องระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช อนึ่งในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 29 พ.ย. NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยจากนั้นมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากวันสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้เคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียในระยะปลายสัปดาห์ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์โดยมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ทางฝั่งตะวันออกของภาค กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ บริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 23 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ และมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ บริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 65-95 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะต้นและปลายสัปดาห์โดยเฉพาะ ในระยะปลายสัปดาห์มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลากับนราธิวาส ในวันที่ 22 พ.ย. จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 20-25 พ.ย. จังหวัดชุมพร ในวันที่ 25 พ.ย. จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ในวันที่ 26 พ.ย. อีกทั้งมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 20 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 23 และ วันที่ 26 พ.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล และมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตรัง สำหรับปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 264.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา