พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 143 /2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 - 30 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับยังคงมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า โดยในภาคเหนืออุณหภูมิสูงขึ้น 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ยังคงมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร สำหรับในบางพื้นที่จะมีฝน เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. - 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 5 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลแผงกำบังลมหนาวให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรดูแลอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนให้พร้อมใช้งาน เพื่อให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือน ป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ในพืชไร่ และพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เนื่องจากในฤดูหนาวอากาศจะจมตัว ควันไฟจะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศไม่สะดวกแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียง ทำให้ทัศนวิสัยลดลง โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนหนทางจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนน และควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าเฉียงเหนือ คะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 5 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนทางตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 19 องศา
เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลแผงกำบังลมหนาวให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรดูแลอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนให้พร้อมใช้งาน เพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง ป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและในบางช่วงอาจมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณ ผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 5 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโตและระยะให้ผลผลิต หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. อากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3
องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 5 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืช ไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาคตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29 - 30 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ธ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูกเพื่อตัดวงจรชีวิตของโรค อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน ภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่จังหวัดระนอง สำหรับปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 264.0 มิลลิเมตร ที่ อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เมื่อวันที่ 23 พ.ย.
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา