พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday December 6, 2023 14:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 145/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในวันที่ 5 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันออกยังคงพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9-10 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่หมอกไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรบริเวณภาคใต้ ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 ธ.ค. 66 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย จากสภาวะอากาศดังกล่าวซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรเฝ้าระวังและหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดควรรีบกำจัด สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อยตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-5 และ 9-10 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีเฉียงเหนือ ฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคในวันที่ 6 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนบางพื้นที่ กับมีลมแรงในบางช่วง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านเกษตรตลอดช่วงที่มีฝนน้อย

กลาง ในช่วงวันที่ 4-6 และ 9-10 ธ.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำ หนอนกระทู้ในหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากในระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ตะวันออกในช่วงวันที่ 4-6 และ 9-10 ธ.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบในมังคุด หนอนกินใบในเงาะ หนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำ หนอนชอนเปลือกในลองกอง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรวางแผนการปรับลดปริมาณการเลี้ยงลงหรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำความสะอาดและซ่อมแซมบ่อหรือกระชังในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย ใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 4-7 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-10 ธ.ค. 66 ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 6-7 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคจุดดำในมะมวง โรคแอนแทรคโนส หรือโรคใบไหม้สีน้ำตาลในกาแฟ เป็นต้น PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ กับมีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีรายงานฝนตกในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอ่อนกำลังลง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างและด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซียในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นกับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ บริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 1-2 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค บริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันที่ 28-30 พ.ย. โดยมีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปัตตานี ในวันที่ 27-29 พ.ย. และจังหวัดชุมพร ในวันที่ 27-30 พ.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 27-30 พ.ย. จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง ในวันที่ 27 พ.ย. - 3 ธ.ค. จังหวัดยะลา ในวันที่ 1-2 ธ.ค. จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 1-3 ธ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 27 พ.ย. จังหวัดสงขลา ในวันที่ 27 พ.ย. และ 2 ธ.ค. และ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 1 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันที่ 29 พ.ย. โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 30 พ.ย. และ 3 ธ.ค. มีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 27 วันที่ 29 พ.ย. และ วันที่ 1-2 ธ.ค. กับมีฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 29 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนองในวันที่ 27-28 พ.ย. และจังหวัดตรัง ในวันที่ 27-30 พ.ย.

ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ยะลา ระนอง พังงา และสตูล สำหรับปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 261.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ