พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 ธันวาคม 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday December 13, 2023 14:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 149/2566 / พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13?16 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ในขณะที่มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2?4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1?3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร คาเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คาแนะนาสาหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 13?17 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1?3 องศาเซลเซียสบริเวณตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 13?14 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 18?23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30?35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10?15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2?3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15?21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10?25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย จากสภาพอากาศที่มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรเฝ้าระวังระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วควรนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อรา ตะวันออก เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 13?16 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18?23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31?34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10?25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2?4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14?21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15?30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 13-16 ธ.ค. มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเอง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรดูแลสภาพภายในโรงเรือนให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงในช่วงอากาศหนาวเย็นโดยเฉพาะสัตว์ปีกที่ยังเล็กอยู่ นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง 2 กลาง ในช่วงวันที่ 13?16 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21?25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32?36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10?20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18?22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30?34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10?25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 13-16 ธ.ค. มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น ฟักทอง แตงโม แตงกวา และพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13?16 ธ.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21?25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32?36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18?22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 13-16 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนด้วงหนวดยาวในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด หนอนกินใบในเงาะ หนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณการเลี้ยงลงหรือจำกัดปริมาณการเลี้ยง เพื่อป้องกันไม่ให้หนาแนนเกินไป ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 13?16 ธ.ค. 66 ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. 66 ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23?26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40?60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 18-19 ธ.ค. 66 มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1?2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23?26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นแล้วยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. ทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 6 ? 12 ธันวาคม 2566 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พระนครศรีอยุธยา ระยอง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส และพังงา 3 สาหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ เหนือ 37.2 มม. ที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ภาคกลาง 41.2 มม. ที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ภาคตะวันออก 39.4 มม. ที่ อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ภาคใต้ 76.8 มม. ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานครไม่มีรายงานฝนตกหนัก สาหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิต่าที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ภาคเหนือ 16.6 ? ซ. ที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. (9.5 ? ซ. ที่ ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15.4 ? ซ. ที่ กกษ.นครพนม อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. (12.0 ? ซ. ที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.) ภาคกลาง 20.5 ? ซ. ที่ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ภาคตะวันออก 21.5 ? ซ. ที่ พัทยา อ.บางละมง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ภาคใต้ 21.2 ? ซ. ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 10,11 ธ.ค. กรุงเทพมหานคร 23.9 ? ซ. ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. หมายเหตุ เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0 เกณฑ์อากาศหนาว อากาศเย็น อากาศหนาว อากาศหนาวจัด อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 16.0-22.9 8.0-15.9 ต่ำกกว่า 8.0 สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่149/2566 ประมาณ 2ม. (17-19 ธ.ค.) ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ประมาณ 1 ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ระหว่างวันที่ 13 ?19 ธันวาคม 2566
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
02-399-2387 ; 02-366-9336
อุณหภูมิ
ความยาวนานแสงแดด
คลื่น
เปิดเครื่องตีน้า หลังฝนตก
40-60%
40-60%
ฝน
[23-26/29-34] 5-7 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
ระวัง ศัตรูพืชจาพวกปากดูด
ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน
อากาศเปลี่ยนแปลง ดูแลสุขภาพ
อากาศเปลี่ยนแปลง ดูแลสุขภาพ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ปลูกพืชใช้น้าน้อย อายุเก็บเกี่ยวสั้น
ระวัง ศัตรูพืชจาพวกปากดูด
1-2ม.
ควบคุมอุณหภูมิ
ภายในโรงเรือนให้เหมาะสม
ปรับลดปริมาณการเลี้ยง
ให้เหมาะสม
29-35?C
15-23 ?C
10 % ของพื้นที่ 6-8 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่6-9ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
29-34?C
14-23?C
29-36?C
18-25?C
30-36?C
18-22?C
มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่6-8 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่6-8 ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%



          ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ