พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday December 20, 2023 13:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 152/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 26 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5 - 8 องศาเซลเซียส ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้ตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20 - 21 ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร สำหรับในช่วงวันที่ 22 - 25 ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้น มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 ธ.ค. บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง อนึ่ง ผู้ที่ที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 4 - 6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็ง บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 26 ธ.ค. จะมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอย มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลแผงกำบังลมหนาวให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 5 - 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 9 - เฉียงเหนือ 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ในวันที่ 26 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 11 - 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 %ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับบางพื้นที่จะมีลมแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวหากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดี เพื่อป้องกันลมหนาวโกรกโรงเรือน นอกจากนี้ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนแก่สัตว์ที่ยังเล็กเนื่องจากสัตว์ที่ยังเล็กมีความต้านทานความหนาวเย็นได้น้อยกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย สำหรับอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง ดังนั้นผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพื่อป้องกันอาหารที่เหลือทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง สภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและหลีกเลี่ยงการจุดไฟ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง ควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 26 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าวและหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด

          17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 26 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35        กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร  ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 %  ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย  สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเตรียมออกดอกในระยะนี้ เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำ โดยให้น้ำในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง สภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา ชาวสวนควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟ ควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 21 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ธ.ค. ตอนบนของภาค: อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 30 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 23 - 25 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนวันที่ 26 ธ.ค. ตอนบนของภาค: อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตอนล่างของภาค: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 - 21 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ธ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และวันที่ 26 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยจะมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 ธันวาคม 2566 ภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพัทลุง ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และตรัง โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 170.4 มม. ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ