พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday December 25, 2023 14:27 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 154/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทย/ และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวต่อเนื่อง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยในช่วงวันที่ 25-27 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันเวลาดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศา ทำให้มีหมอกในตอนเช้า ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังขณสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย นอกจากนี้ควรระวังระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างตะวันออก ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา ทำให้มีหมอกในตอนเช้า สำหรับในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรดูควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งควรเพิ่มอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงที่ยังเล็กอยู่ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรงโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. กลาง ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค.อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา ทำให้มีหมอกบางในตอนเช้าเกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจทำให้ผลผลิตเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร่ เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ตะวันออกในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา ทำให้มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อนและตาดอก ทำให้พืชชงักการเจริญเติบโต โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง ใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. 66 ตอนบนของภาค : อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียง เหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 ธ.ค. 66 ตอนบนของภาค : อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25-27 ธ.ค. 66 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28-31 ธ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ตอนบนของภาค มีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนทางตอนล่างของภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค. บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18 - 24 ธันวาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวเกือบทั่วไป โดยเฉพาะครึ่งหลังของสัปดาห์มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีอากาศเย็นถึงหนาวเกือบทั่วไป สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากในครึ่งหลังของสัปดาห์ เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่พัดปกคลุมบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียในระยะปลายสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาวทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะปลายสัปดาห์ มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 21 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิลดลง โดยมีอากาศเย็นบางพื้นที่กับมีอากาศหนาวเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม ในวันที่ 23 ธ.ค. ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาวในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิลดลงอยู่ในเกณฑ์อากาศเย็นถึงหนาวทั่วไป ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 35-70 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 19 ธ.ค. กับในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ อีกทั้งมีฝนหนักมากบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนราธิวาสและยะลา ในวันที่ 24 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 19 และวันที่ 24 ธ.ค. มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนหนักมากบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสตูล สำหรับปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 246.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ