พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 มกราคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอก ในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเล จีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับในช่วงวันที่ 1 - 3 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วน คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ และในช่วง 1 - 2 ม.ค. 67 จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. 67 บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด
29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลแผงกำบังลมหนาวให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิ ที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาว ถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้น ภายในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉียงเหนือ สูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิ จะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอด ภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวหากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ ส่วนสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น เนื่องจากสัตว์ที่ยังเล็กจะมีความต้านทานความหนาวเย็นต่ำกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย นอกจากนี้สภาพอากาศที่แห้งและบางช่วงมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะเกษตรกรที่จุดไฟให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและ
สัตว์เลี้ยง หากใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนบริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดินและรักษาความชื้นภายในดิน กลาง ในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ
สูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกิน น้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน)ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 2 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากตามแนวชายฝั่งทะเล
อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. 67 อากาศเย็นใน ตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์อยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 3 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1 - 3 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรค ใบยางร่วงในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกและฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งไม่ควรนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะจะทำให้ดินแน่นส่งผลกระทบกับรากพืชและเครื่องจักรอาจติดหล่มได้ง่าย ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 25 - 31 ธันวาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอ่อนกำลังลง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ในระยะต้นสัปดาห์แล้วมีกำลังอ่อนลง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นหลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นทั่วไปบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ทางฝั่งตะวันออกของภาค โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 25 ธ.ค. มีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ภาคเหนือมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบางแห่ง เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นโดยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปและมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยมีอากาศเย็นถึงหนาว
ภาคกลางมีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์
ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 25 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 35-65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 31 ธ.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 25 วันที่ 29 และวันที่ 30 ธ.ค. กับฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 25 ธ.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนราธิวาสและยะลาตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 25-27 ธ.ค. และจังหวัดปัตตานีตลอดสัปดาห์ อีกทั้งมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 28 ธ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 29 ธ.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 25-28 ธ.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และตรัง โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 228.6 มม. ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา