พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 มกราคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 2/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 5 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 14 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนจะพัดพาอากาศหนาวเย็นจากที่ราบสูงทิเบตและประเทศเมียนมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2 - 12 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 15 องศาเซลเซียส สำหรับในวันที่ 3 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 9 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งข้ามคืน ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 9 ม.ค. บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2 - 12 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 3 และ 8 - 9 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 9 - 10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน เพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นภายในดินด้วย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ อีกทั้งควรระวังอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและหลีกเลี่ยงการจุดไฟในแปลงปลูกพืช หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 7 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า เฉียงเหนือ ตอนล่างของภาคอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 8 - 9 ม.ค. ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า ตอนล่างของภาค อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 9 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังและควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก รวมทั้งโรคราดำในมะม่วงที่เกิดจากมูลของเพลี้ยจั้กจั่น เป็นต้น สำหรับในช่วงฤดูหนาวอากาศแห้งบางช่วงจะมีลมแรงทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณ ผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 9 - 10 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เนื่องจากในฤดูหนาวอากาศจะจมตัว ควันไฟจะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศไม่สะดวก แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนน และควันไฟอาจเป็นมลพิษในอากาศจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 26 องศา
เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 9 - 10 ชม. - ระยะนี้จะอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพและควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่นหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก และหนอนม้วนใบในถั่วเขียว เป็นต้น สำหรับในช่วงฤดูหนาวอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณ ผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 5 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่าง ในวันที่ 3 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 9 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 - 5 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 ม.ค. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม - 2 มกราคม ที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส และตรัง โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 60.6 มิลลิเมตร ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา