พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2567

ข่าวทั่วไป Monday January 8, 2024 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 มกราคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 11 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุม           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 17 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 12 - 14 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียสในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 11 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 67คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 14 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า
          2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 8 - 11 ม.ค. 67 บริเวณประเทศไทยจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ม.ค. 67 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย     ที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ                  ด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8 - 11 ม.ค. 67 ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส    ลมตะวันตก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ตอนล่างของภาค อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ลมตะวันตก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ตอนล่างของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 11 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนในบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เช่น แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป และแตงกวา เป็นต้น รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตร

ไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เนื่องจากในฤดูหนาวอากาศจะจมตัวควันไฟจะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ไม่สะดวกแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณใกล้เคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลง โดยเฉพาะบริเวณถนนหนทาง เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 11 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ตอนล่างของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนในบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนระยะนี้และระยะต่อไป(ฤดูหนาวและฤดูร้อน)จะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช กลาง ในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 14 ม.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ

ต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 14 ม.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และควบคุมจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรต่างๆ ซึ่งจะดูด

กินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 14 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนทางตอนล่างของภาค ที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วง ในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม และหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะจะทำให้ดินแน่นส่งผลกระทบต่อระบบรากพืช และเครื่องจักรอาจติดหล่มได้ง่าย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 1 - 7 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้มีอากาศเย็นทั่วไปบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์โดยมีกำลังปานกลางในวันแรกและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาคในระยะปลายสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1-2 และวันที่ 4 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศเย็นถึงหนาว ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 1 และวันที่ 6 ม.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดยะลา ในวันที่ 1 ม.ค. จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 1-2 ม.ค. และจังหวัดปัตตานี ในวันที่ 1-3 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 ม.ค. สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาคใต้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส และพังงา โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 55.7 มม. ที่ อ.นาหม่อม จ.สงขลา เมื่อวันที่ 6 ม.ค.67

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ