พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนสภาพอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ตอนกลางคืน เพราะจะทำให้สัตว์ตัวที่ไม่แข็งแรงตายได้ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น เนื่องจากสัตว์ที่ยังเล็กจะมีความต้านทานต่อความหนาวเย็นน้อยกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - เฉียงเหนือ 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น สำหรับสภาพอากาศที่แห้งน้ำระเหยได้มาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดิน บริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 18 - 21 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 23 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และ เป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม หากพืชขาดน้ำจะทำให้เหี่ยวเฉา ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำ เป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตาย สูญเสียผลผลิตอย่างสิ้นเชิง อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18 - 20 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ฤดูต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 18 และ 23 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17 - 23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ ส่วนทางตอนบน
ของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 10 - 16 มกราคม 2567 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน กำแพงเพชร ชัยนาท สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา