พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 มกราคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday January 19, 2024 13:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 มกราคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและ/ ทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค คำเตือน ระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ตอนล่างของภาค อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่าย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายจากหมอกและน้ำค้างได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ แม้ในระยะนี้จะมีฝนตก แต่ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องการชะงักการเจริญเติบโตของพืช และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นภายในดิน กลาง ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่าง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้ แม้จะมีฝนตกในช่วงนี้ แต่ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาความชื้นในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า กับจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูร้อน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณการเลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 ตอนบนของภาค อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ม.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ตอนบนของภาค ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชหรือโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ส่วนทางตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในดินมีมาก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะต้นช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง อีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 13 ม.ค. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในวันที่ 16 และ 18 ม.ค. สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นช่วง ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในวันที่ 13-14 ม.ค. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 13 ม.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะต้นช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนกับฝนหนักบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ ในวันที่ 13-15 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน กำแพงเพชร ชัยนาท สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ