พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 28 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 1 ก.พ. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 26 - 28 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังป้องกันการเกิดอัคคีภัย ส่วนช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจร สำหรับระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วน ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 28 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดยอดมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และควรระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน อนึ่ง ฤดูต่อไปจะเป็นฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักน้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 29 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 28 - 29 เฉียงเหนือ ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค. - 1 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน
อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง และปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ควรเลือกปลูกพืช ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำของพืช นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน กลาง ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 1 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกร ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 28 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 1 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 1 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % - สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนฤดูต่อไปจะเป็นฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 19 - 25 มกราคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 22-23 ม.ค. กับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคกลางตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค และมีรายงานฝนในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดที่ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในช่วงดังกล่าวส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอย มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 20-21 ม.ค. โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในตอนปลายช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในตอนปลายช่วง ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขามีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 55-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนราธิวาสและพัทลุงในวันที่ 25 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในวันที่ 19,20,22 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22-23 ม.ค. มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง
ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร พัทลุง นราธิวาส และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และยะลา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา