พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday February 7, 2024 14:59 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 17/2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-8 ก.พ. 67 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำ/ ให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับชาวเรือและชาวงประมงบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 13-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก ส่วนมากทางตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่มีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังในขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคจุดดำในมะม่วง โรคราแป้งและโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เป็นต้น สำหรับในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ.จะมีฝนได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจได้รับความเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 ก.พ. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนร้อยละ เฉียงเหนือ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีฝนตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วลันเตา หนอนใยผักในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลการผูกยึด ค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโคนล้ม เมื่อมีลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมปริมาณการเลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 67 มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 67 มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2567 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุบลราชธานี และจันทบุรี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ