พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 – 22 กุมภาพันธ์

ข่าวทั่วไป Friday February 16, 2024 16:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 21/2567

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 ? 22 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงทำให้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 17 ? 19 ก.พ. ทำให้ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 ? 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และควรสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

ในช่วงวันที่ 17 - 20 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 ? 3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 17 ? 18 ก.พ. อุณหภูมิต่ำสุด 12 ? 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 12 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 14 ? 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 39 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 ? 15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณยอดดอยอาจเกิดน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร จากสภาวะอากาศแห้งและมีลมแรงทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน และยังช่วยลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นภายในดินด้วย นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมปริมาณอาหาร เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้

ตะวันออก เฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16 ? 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 ? 37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 22 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 ? 4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 ? 39 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 16 องศาเซลเซียส มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17 - 18 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- สำหรับสภาพอากาศเย็นในบางพื้นที่ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรให้ความอบอุ่นในโรงเรือนและคอยควบคุมอุณหภูมิอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ระยะนี้อากาศแห้งกับมีลมแรงทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับฝนที่ตกน้อยและปริมาณน้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

กลาง

ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 ? 38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 22 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะ

สูงขึ้น 1 ? 3 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17 - 18 ก.พ. อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 ? 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 ? 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำ และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช

ตะวันออก

มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ส่วนในบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย โดยสำรวจดูแลการผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น

ใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 %

- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีอากาศแห้งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

NT

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 9 ? 15 กุมภาพันธ์ 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอ่อนกำลังลง โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะต้นช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ และมีฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะต้นช่วง ส่วนภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้เกือบตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝน ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคโดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ ในวันที่ 10 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป เว้นแต่วันแรกของช่วงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 11-12 ก.พ. มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 9 ก.พ. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ในวันที่ 10 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่ในวันที่ 9 วันที่ 10 และวันที่ 12 ก.พ. กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 9 ก.พ. 2

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 11 ก.พ.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะกลางช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในวันที่ 9, วันที่ 11 และวันที่ 15 ก.พ. กับมีฝน

หนักบางพื้นที่ในวันที่ 9 ก.พ.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตราด ชุมพร

นครศรีธรรมราช และกระบี่

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคตะวันออก 50.8 มม. ที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด เมื่อวันที่ 9 ก.พ.

ภาคใต้ 64.8 มม. ที่ อ.ประทิว จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 11 ก.พ.

กรุงเทพมหานคร 50.0 มม. ที่ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา เขตทวีวัฒนา เมื่อวันที่ 10 ก.พ.

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ไม่มีรายงานฝนตกหนัก

สำหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ 11.9 ? ซ. ที่ อ.อ้มุ ผาง จ.ตาก เมื่อวันที่ 14 ก.พ.

(6.0 ที่ ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.

และ ที่ ก่วิ แม่ปาน ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12.0 ? ซ. ที่ กกษ.นครพนม อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อวันที่ 12 ก.พ.

(8.5 ? ซ. ที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูเรือ จ.เลย เมื่อวันที่ 14 ก.พ.)

ภาคกลาง 17.0 ? ซ. ที่ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 14 ก.พ.

ภาคตะวันออก 17.5 ? ซ. ที่ กกษ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 13 ก.พ.

ภาคใต้ 18.0 ? ซ. ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 13 ก.พ.

กรุงเทพมหานคร 20.7 ? ซ. ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา เมื่อวันที่ 13 ก.พ.

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มม.) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

เกณฑ์อากาศหนาว อากาศเย็น อากาศหนาว อากาศหนาวจัด

อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 16.0-22.9 8.0-15.9 ต่ำกกว่า 8.0

สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา , กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

3

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

อุณหภูมิ

ความยาวนานแสงแดด

คลื่น

ฝน

1 ม.

1 ม.

10-30%

ในช่วงวันที่17?19ก.พ.ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง2-4องศา

ระหว่างวันที่ 16 -22 กุมภาพันธ์ 2567

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์55-75%

10-30%

ฉบับที่21/67

เตรียมเก็บน้ำสำรองไว้ใช้

บริเวณไทยตอนบนมีอากาศเย็น/หมอกในตอนเช้ากับอากาศร้อนตอนกลางวัน

ต่ำสุด21 -27 ?C

สูงสุด31 ?37 ?C

ต่ำสุด21 -26 ?C

สูงสุด33 -39 ?C

ต่ำสุด23 -28 ?C

สูงสุด32 -38?C

ต่ำสุด12 -22 ?C

สูงสุด 31 -39 ?C

ต่ำสุด16 -25 ?C

สูงสุด 35 ?39 ?C

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์65-75%

ความยาวนานแสงแดด6-8 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์65-75%

ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์60-80%

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.ความชื้นสัมพัทธ์55-75%

ควรคลุมดิน

ไม่ควร ตากผลผลิตข้ามคืน

ระวังศัตรูจำพวกหนอน

ระวังผลผลิตเสียหาย

น้ำค้างแข็ง

ลดปริมาณอาหารลง

ควบคุมอุณหภูมิโรงเรือน

ควรค้ำยันกิ่งไม้ผล

คลุมดินเพื่อรักษาความชื้น

ระวังศัตรูจำพวกหนอน

ดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสม

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ