พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday February 19, 2024 15:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 22/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

สำหรับในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่และฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณตอนล่างของภาคในวันที่ 19 ก.พ. อุณหภูมิต่ำสุด 11-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-14 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 13-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราแป้งและโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง ตะวันออก อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยเฉียงเหนือ ละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนและลมให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย

กลาง ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-22 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของ

ภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. จะฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง บริเวณซึ่งมีฝนตกต่อเนื่องเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR

ระหว่างวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2567 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นอ่อนกำลังลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุม อ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 12 และวันที่ 15 ก.พ. โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปาน

กลางบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 17 ก.พ. และมีรายงานลูกเห็บบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 17-18 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคกลางมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 16-17 ก.พ. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 17 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภู มีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ ในวันที่ 12 วันที่ 16 และวันที่ 17 ก.พ. กับ มีฝนหนักบางพื้นที่ ในวันที่ 17 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ในวันที่ 12 วันที่ 14 และ วันที่ 15 ก.พ.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด กาญจนบุรี และสมุทรปราการ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ปราจีนบุรี และนครศรีธรรมราช

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ