พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 23 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Friday February 23, 2024 13:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 23 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 พ.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23 - 25 ก.พ. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ก.พ. 67 ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 -2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณตอนล่าง อุณหภูมิต่ำสุด 15-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน สำหรับในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผลควรสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ตะวันออก โดยในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงเฉียงเหนือ และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน โดยจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ ฉบับที่ 24/2567 กลาง ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนในตอนกลางวันและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียมและควรดื่มน้ำมากบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้ง รวมทั้งไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะฝนฟ้าคะนอง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชก

แรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนบางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผลสำรวจและดูแลวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงแต่ควรเก็บในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ขึ้นไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 23 - 25 ก.พ. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.พ. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นช่วง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันที่ 17-18 ก.พ. ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีรายงานฝนในบางพื้นที่ของประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้า กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 17-18 ก.พ. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 17 ก.พ. และมีรายงานลูกเห็บบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 17-18 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเลยในวันแรกของช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางพื้นที่ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนทั่วไปในระยะกลางและปลายช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในวันที่ 18 ก.พ. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี ในวันที่ 18 ก.พ. ภาคกลาง มีอากาศเย็นในตอนเช้าบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง และมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในตอนกลางวัน โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 17 ก.พ. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 17 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้าบางพื้นที่ในวันที่ 19 ก.พ. ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ในวันที่ 17 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้าบางพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 20 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นในตอนเช้าบางพื้นที่ในวันที่ 18 ก.พ. และมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง

มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และสมุทรปราการ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ