พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday February 26, 2024 13:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 25/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้/ และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. 67 ลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยในช่วงวันที่ 1-3 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณตอนล่าง อุณหภูมิต่ำสุด 16-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับความชื้นในอากาศมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่อยู่ในระยะออกดอกหรือติดผลอ่อน เพื่อป้องการการชะงักการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยภายในบ้านเรือนรวมทั้งพื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศแห้ง นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกอาจเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วยตะวันออก ในช่วงวันที่ 27-29 ก.พ. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับปริมาณการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 1-3 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกอาจเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย กลาง ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกอาจเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. 67 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกอาจเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดอัตราการเลี้ยงให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำหนาแน่นเกินไป เพราะอากาศที่ร้อนทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 67 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 67 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนและจำพวกปากดูด(เพลี้ยและไร) ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศในรอบ สัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19 - 25 กุมภาพันธ์ 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยเฉพาะประเทศไทยตอนบน และมีฝนบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 23 ก.พ. โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคกลางมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนกับหนักบางแห่งในระยครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 20 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลพบุรี และสุราษฎร์ธานี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ