พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 28/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 4 - 7 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 5 - 8 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 4 - 8 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 9 - 10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนจะแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน และหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับในช่วงวันที่ 9 - 10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว อนึ่ง ระยะนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 7 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.ส่วนในวันที่ 8 - 10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนปริมาณการระเหยของน้ำที่มีมากในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำ อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกัน
ความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง ระยะนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 4 - 7 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 8 - 10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนปริมาณการระเหยของน้ำที่มีมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง ระยะนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 7 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิ
ต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 8 - 10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนปริมาณการระเหยของน้ำที่มีมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณพื้นที่เพาะปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำ อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง อนึ่ง ระยะนี้เป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 8 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 9 - 10 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนที่มีฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 5 - 8 มี.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 9 - 10 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1
เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % - ระยะนี้จะมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 2 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนทางตอนล่างของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 29 ก.พ. และ 1 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 27 ก.พ. จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 29 ก.พ. และจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 1 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ ในวันที่ 27 ก.พ. และระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 28 ก.พ. และ 3 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย นครราชสีมา นครสวรรค์ ระยอง และตราด
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา